เรื่องที่ 2 แบบจำลองอะตอมของทอมสัน


แบบจำลองอะตอมของทอมสัน



ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ รังสีแคโทด  (cathode ray)  ที่ทดลองได้จากการใช้หลอดแก้วที่สูบอากาศออก และมีขั้วโลหะ2อันอยู่คนละข้างคือแอโนดเป็นขั้วไฟฟ้าบวกและแคโทดเป็นขั้วไฟฟ้าลบของหลอดแก้วและต่อไปยังไฟฟ้าที่มีศักย์สูงทำให้เกิดรังสีและค้นพบอิเล็กตรอนทอมสันเป็นคนแรกพิสูจน์ว่าอิเล็กตรอนเล็กกว่าอะตอมจากการทดลองของทอมสันพบว่าอนุภาคในรังสีแคโทดมีประจุไฟฟ้าชนิดลบเพราะสังเกต จากแนวการเบนของอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก  
ทอมสันสรุปได้ว่ารังสีแคโทดที่ได้จากโลหะต่างชนิดกันเป็นอนุภาคชนิดเดียวกันเพราะq/mของโลหะทุกชนิดมีค่าเท่ากันนั่นเองอนุภาคนั้นก็คืออิเล็กตรอนทอมสันสามารถแยกอิเล็กตรอนออกจากอะตอมเขาจึงสรุปว่าอะตอมยังแบ่งแยกต่อไปได้อีกขึ้นภายในหลอดแก้ว ซึ่งมองเห็นได้จากจุดสว่าง เมื่อรังสีกระทบฉากเรื่องแสง ที่ใส่ไว้
เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน ให้แนวคิดอะตอมขึ้นใหม่ ดังนี้
"อะตอมมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุบวกและมีอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบอะตอมโดยปกติอยู่ในสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้าซึ่งทำให้ทั้งสองประจุนี้มีจำนวนเท่ากันและกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอภายในอะตอมโดยมีการจัดเรียงที่ทำให้อะตอมมีสภาพเสถียรมากที่สุดต่อมาภายหลังแบบจำลองนี้ถูกคัดค้านโดยการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดที่ว่า เนื้ออะตอมจะไม่สม่ำเสมอ  แต่จะไปอัดกันแน่นตรงบริเวณเล็กๆ ส่วนหนึ่งในอะตอมเท่านั้น (ซึ่งต่อมาเรียกว่า นิวเคลียส)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องที่ 1 แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

เรื่องที่ 3 แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด