เรื่องที่ 3 แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
รัทเทอร์ฟอร์ด(E.Rutherford)ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาเข้าไปในแผ่นทองคำเปลวบางๆอนุภาคแอลฟาเป็นอนุภาคที่มีมวลเป็นสี่เท่าของอะตอมไฮโดรเจนและมีประจุ+2eโดยมากเกิดจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีเช่นเรเดียมอนุภาคแอลฟาที่ใช้มีพลังงานสูงถึง7.6ล้านอิเล็กตรอนโวลต์พบว่าเมื่ออนุภาคแอลฟาวิ่งผ่านทองคำเปลวโดยมากจะทะลุไปตรงๆหรือหักเหน้อยมาก แต่ก็มีบางตัวที่หักเหจากแนวเดิมเป็นมุมใหญ่ๆ
ผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดสรุปได้ว่า
1. อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่ : ผ่านเป็นเส้นตรง แสดงว่าในอะตอมมีที่ว่าง
2. อนุภาคแอลฟาส่วนน้อย : หักเห (เลี้ยวเบน) แสดงว่าชนกับโปรตอนที่มีมวลมากอยู่ด้านข้างของอะตอม
3. อนุภาคแอลฟาบางส่วน : สะท้อนกลับมาด้านหน้าแสดงว่าชนกับโปรตอนในส่วนกลางของอะตอมที่มีมวลจำนวนมาก เรียกว่า “นิวเคลียส”
Ä นิวเคลียสมีขนาดเล็กมีมวลมากควรจะประกอบด้วยโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอนเพราะอิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก จะไม่มีผลต่อการสะท้อนกลับของอนุภาคแอลฟา
ต่อมา เจมส์ แชดวิก ได้ทำการทดลองยิงอะตอมของเบริลเลียมด้วยอนุภาคแอลฟา พบว่าจะมีอนุภาคชนิดใหม่ที่ไม่มีประจุหลุดออกมา และมวลของอนุภาคตัวใหม่นี้มีค่าใกล้เคียงกับมวลของโปรตอน จึงเรียกอนุภาคชิดใหม่ว่า “ นิวตรอน ”
รัทเทอร์ฟอร์ดจึงสรุปแบบจำลองอะตอมไว้ว่า“อะตอมมีลักษณะทรงกลมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง และมีอิเล็กตรอนซึ่งมีจำนวนเท่ากับโปรตอนที่อยู่ในนิวเคลียสวิ่งอยู่รอบ ๆ นิวเคลียส ” แต่ แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมนี้ไม่ได้สามารถอธิบายว่าอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสเคลื่อนที่อยู่ในลักษณะใด
ตอนนี้เราก็พบอนุภาค ภายในอะตอมแล้ว 3 ชนิด
อะตอมประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญ3ชนิด คือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน และเรียกอนุภาคทั้ง 3 นี้ว่า“ อนุภาคมูลฐานของอะตอม ”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น